รายละเอียดเพิ่มเติม
“ขณะหรือโอกาสที่เจ็บไข้นั้น
เป็นโอกาสที่มีค่าสำหรับจะศึกษาความจริง
หรือธรรมะที่จะช่วยให้เกิดความหลุดพ้นได้
เพราะฉะนั้น จึงเตรียมไว้ให้ดีๆ เตรียมอาวุธนี้ไว้
สำหรับจะต่อสู้ความเจ็บไข้ซึ่งจะจู่มาเมื่อไรก็ไม่รู้
แต่แม้ว่าจะไม่เจ็บไข้ อาวุธนี้ก็ยังใช้ได้
ในฐานะเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เสียสติ
ไม่ให้เสียสัมปชัญญะ
ในทุกๆ กรณี ในทุกๆ อิริยาบถ”
พุทธทาสภิกขุ
หนังสือธรรมะที่เป็นมากกว่าหนังสือธรรมะ “คนไข้ไปนิพพาน” เล่มนี้ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ได้นำ พระธรรมเทศนาเรื่อง “ยาระงับสรรพโรค” และ “การมีสติสัมปชัญญะต่อสู้ความเจ็บไข้” ของหลวงปู่พุทธทาส มาจัดพิมพ์ใหม่ในชื่อว่า “คนไข้ไปนิพพาน” โดยในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ยังคงบทพระธรรมเทศนาไว้เหมือนเดิม แต่ได้เพิ่มเติมในส่วนของบทคัดย่อ ใส่สีเน้นคำ ทำเชิงอรรถ เสริมสาระ อธิบายข้อธรรม และใส่ภาพประกอบ เพื่อให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย ช่วยย่นระยะเวลาในการอ่าน เข้าถึงแก่นแท้ของธรรมะและหยิบใช้ได้ทันที มีสุขทันใจ
———————————————
ปกรอง
คำนำ
———————————————
**สารบัญ**
ยาระงับสรรพโรค
– โรคมี ๓ ชนิด คือ โรคทางกาย โรคทางจิต โรคทางวิญญาณ
– “โรคทางวิญญาณ” เป็นปัญหามากที่สุด
– กิเลสเกิดขึ้นเมื่อใด ก็เป็นโรคทางวิญญาณเมื่อนั้น
– โรคทางวิญญาณ เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคทางกาย
– ลักษณะอาการของโรคทางวิญญาณ
– เพราะเป็นโรคทางจิตจึงมีทุกข์ จะดับโรคทางจิตต้องอาศัยพุทธศาสนา
– อาการของโรคทางวิญญาณ
– การยึดติดในของเป็นคู่ๆ ทำให้เป็นทุกข์
– รักสวรรค์ เกลียดนรก ก็เป็นโรคทางวิญญาณ
– ไม่รัก ไม่ชัง ไม่บวก ไม่ลบ เบา สบาย ไม่เป็นโรคทางวิญญาณ
– โรคทางวิญญาณที่เป็นกันมาก
– เป็นโรคทางวิญญาณเพราะขาดธรรมะ
– คาถาปรุง “ยาระงับสรรพโรค”
– “ยาระงับสรรพโรค” ประกอบด้วยเครื่องยา ๗ อย่าง
– เครื่องยาทั้ง ๗ ไม่มีขาย หาได้ภายในตัวเอง
– สรรพคุณของเครื่องยา ๗ ชนิด
– “ให้ช่างหัวมัน” ถ้าเป็นเรื่องที่ต้อง เป็นไปตามกฎธรรมดา
– “อย่าชั่งหัวมัน” ถ้าเป็นเรื่องที่จะต้องช่วยเหลือผู้อื่น
– เมื่อเห็นเช่นนั้นเองถึงที่สุด ก็ถึงความเป็นพระอรหันต์
– จิตยึดมั่นถือมั่นว่า “ตัวกู-ของกู” จึงเป็นทุกข์
“ตัวกู-ของกู” ไม่มีอยู่จริง เปรียบเหมือนสิ่งที่ยืมมาชั่วคราว
“อย่าเอา-อย่าเป็น” ด้วยยึดมั่นถือมั่นว่า “ตัวกู-ของกู”
– ไม่หมายมั่นอะไรว่าเป็นตัวกู-ของกู ก็ไม่เป็นทุกข์
– “มีโดยไม่ต้องมีผู้มี” คือ มีตามสมมติ จิตไม่เข้าไปยึดถือ
– “มีอย่างว่าง ว่างอย่างมี” จำให้ดี ไม่มีทุกข์
– ปริญญา “ตายก่อนตาย”
– หมดตัวกูก่อนตาย เข้าถึงอมตธรรม ไม่ตายอีกต่อไป
– ตายก่อนตายได้ เพราะเข้าถึงความจริงของร่างกาย
– “สมัครดับไม่เหลือ” คือยาแก้ทุกข์อันศักดิ์สิทธิ์
– เมื่อสมัครดับไม่เหลือ ก็ไม่ต้องกลัวตายอีกต่อไป
– ให้รับประทาน “ยาระงับสรรพโรค” ทุกวัน
– สรรพคุณของยา คือ ทำให้เย็นเป็น “นิพพาน”
– ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป เรียกว่า “อยู่เหนือโลก”
– จิตใจอยู่เหนือโลก เป็น “พระอริยะ”
– มองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เรียกว่า “กินยาแก้สรรพโรค”
– หมั่นทบทวนฉลาก “ยาระงับสรรพโรค” ให้ขึ้นใจ
– รับประทาน “ยาระงับสรรพโรค” ทุกวัน ไม่เกิดโรคอีกต่อไป
– สิ้นโรค สิ้นทุกข์ อยู่เหนือโลก คือ จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
การ์ตูนธรรมะดีจัง
๑. ปลดทุกข์
๒. พุทโธก่อนนอน
การมีสติสัมปชัญญะต่อสู้ความเจ็บไข้
– “ความเจ็บไข้” คือ โอกาสแห่งการบรรลุธรรม
– ความทุกข์สอนธรรมได้ดีกว่าความสุข
– ต้องมองเห็นทุกข์ จึงจะศึกษาทุกข์ได้อย่างแท้จริง
– ความทุกข์ที่ต้องศึกษา คือความทุกข์ของตนเอง
– สุข-ทุกข์ ทำให้ได้เรียนรู้
– ยิ่งพิจารณาความทุกข์มากเท่าใด ยิ่งมีโอกาสพ้นทุกข์มากเท่านั้น
เมื่อเกิดความเจ็บไข้ ให้ถือเป็นโอกาสดีในการพิจารณาธรรม
– คนเจ็บไข้ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้
– ยิ่งรอความตาย ยิ่งใกล้ความเป็นพระอรหันต์
– การรอความตายอย่างผู้มีสติสัมปชัญญะ
– “อภิชฌา” และ “โทมนัส” เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดออกไป
– มีสติป้องกันไม่ให้อภิชฌาและโทมนัสเกิดขึ้น
– เพียรเผาความทุกข์ให้สิ้นไป
– มีสติสัมปชัญญะอยู่ในธรรมทุกอิริยาบถ
– จะทำอะไรก็ตาม ให้มีสติสัมปชัญญะอย่าเผลอให้อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ
– พิจารณาให้เห็นความจริงของเวทนา
เกิดเวทนาทุกครั้ง ให้มีสติพิจารณาจนเห็นธรรม
– พิจารณาเห็นสุขเวทนาไม่เที่ยง จิตคลายกำหนัด สลัดความยึดมั่นถือมั่น
– พิจารณาเห็นทุกขเวทนาไม่เที่ยง คลายความยึดถือในร่างกายฯ
– พิจารณาเห็นความไม่สุขไม่ทุกข์ ว่าไม่เที่ยง ละอวิชชาได้
– ต้องมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา อย่าตกเป็นทาสของเวทนา
– แม้เวทนาจะหนักถึงขั้นทำให้เสียชีวิต ก็ต้องมีสติสัมปชัญญะ
– จะเอาชนะเวทนาอันแสนสาหัส ก็เพราะอาศัยการฝึกสติสัมปชัญญะ
– เวทนาทั้งหลายจะไม่เป็นของร้อน เพราะมีสติสัมปชัญญะ
– เข้าถึงนิพพานได้ แม้ยังมีชีวิตอยู่
– คนเจ็บไข้สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าใช้ความเจ็บไข้ให้เป็นประโยชน์
– ไม่มีเรื่องอะไรสำคัญไปกว่า การปฏิบัติตนเพื่อความเป็นพระอรหันต์
– ฝึกสติสัมปชัญญะให้พร้อม เพราะทุกคนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
– ดูให้ดีมีแต่ได้ไม่มีเสีย
สวดมนต์รักษาโรค
๑. บทกราบพระรัตนตรัย
๒. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
๓. บทไตรสรณคมน์
๔. บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย (อิส๎วาสุ)
๕. บทโพชฌังคปริตร
๖. บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)
๗. บทชัยปริตร (มหากาฯ)
๘. พระคาถาชินบัญชร
๙. บทสักกัต๎วา
๑๐. บทสัพพมงคลคาถา
๑๒. บทอภิณหปัจจเวกขณะ
๑๓. บทเขมาเขมสรณทีปิกคาถา
๑๔. บทอุณหิสสวิชยคาถา
๑๕. บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
๑๖. บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
๑๗. บทแผ่ส่วนกุศล
สุขภาพใจดี สุขภาพกายดี
๑. รักษาโรคเครียดด้วย “ลมหายใจ”
๒. “กล้วย” ผลไม้สารพัดประโยชน์
เรียนรู้ ฝึกจิต คิดสนุก พัฒนาสมอง
๑.เกมฝึกสมาธิ จับผิดภาพ “ช่าง-หัว-มัน”
๒.เกมฝึกสมาธิ จับผิดภาพ “เสือดุ”
๓.เกมเติมคำ นำธรรมะ “ยาระงับสรรพโรค”
๔.เกมดูให้ดี มีแต่ได้ ไม่มีเสีย “โรคทางวิญญาณ”
๕.เกมหลุดพ้นวัฏฏะ “พุทโธกลับเรือ”