บทความสาระทั่วไป

พระพุทธนิมิต

พระพุทธนิมิต

พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ

พระพุทธรูปทรงเครื่อง,
พระพุทธรูปปางจักรพรรดิ

วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุ ตั้งอยู่ในตำบลท่าวาสุกรี
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คาถาบูชา

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสสะ (๓ จบ)

พุทธนิมิตตัง อหังวันทา ขมามิหัง
พุทธนิมิตตัง สหัสสะโกติเทวตานัง
พุทธนิมิตตัง สาธุ รูปานัง
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
ปฐวีคงคา พระภูมะเทวา ขมามิหัง

ประวัติ

พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ นิยมเรียกโดยย่อว่า พระพุทธนิมิต เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประดิษฐานอยู่ที่วัดหน้าพระเมรุ มีพุทธลักษณะงดงาม และเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร นิยมเรียกโดยย่อว่า วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุ ตั้งอยู่ในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ขนาดและลักษณะพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ เป็นพระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี บ้างเรียกว่า ปางทรมานพระยามหาชมพู หล่อด้วยทองสำริดลงรักปิดทอง หน้าตักกว้างประมาณ 4.5 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์[1] บ้างว่าเป็นพระพุทธรูปประจำปีกุนด้วย

ประวัติการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นพร้อมวัดหน้าพระเมรุในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่อมาสันนิษฐานว่าได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปูนปั้น ที่ประดิษฐานอยู่ภายในเมรุทิศ เมรุมุมของระเบียงคต วัดไชยวัฒนาราม ที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์ วัดนี้ยังได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ วัดหน้าพระเมรุรอดพ้นจากการถูกทำลายเมื่อคราวเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2

ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดหน้าพระเมรุและพระประธานองค์นี้ และพระราชทานนามพระประธานว่า พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ โดย พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยาในสมัยรัชกาลที่ 3 ในขณะนั้นได้ปฏิสังขรณ์โดยรักษาแบบอย่างของเดิมไว้เป็นส่วนมาก รวมถึงคงลักษณะที่วัดนี้ไม่ได้ทำหน้าต่างไว้ มีแต่ช่องลูกกรงช่องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นแบบนิยมในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาตอนต้น สมัยนั้นพระอุโบสถยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งรวมถึงภาพภิกษุณี แต่ผู้ซ่อมแซมในสมัยต่อ ๆ มาได้ฉาบปูนขาวทับไว้เสียหมด

บทพระคาถามหาจักรพรรดิ

(สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17 พฤหัส 19 ศุกร์ 21 เสาร์ 10 )

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสสะ
(๓ จบ)

นโม พุทธายะ
พระพุทธะไตรรัตนญาณ
มณีนพรัตน์
สีสะหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ
ยะ-ธา-พุท-โม-นะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา
สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วะรังคันธัง
สีวะลี จะ มะหาเถรัง
อะหัง วันทามิ ทูระโต
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

Related posts